ท้องทะเลนอกจากจะมีความสวยงามในช่วงกลางวันแล้ว ในช่วงเวลากลางคืนก็มีความสวยงามที่หาชมได้ยากเช่นกัน นั่นก็คือปรากฏการณ์แพลงก์ตอนเรืองแสง ซึ่งเราอาจจะเคยได้เห็นข่าวว่าเกิดขึ้นในต่างประเทศซะเป็นส่วนใหญ่ เช่น หาดเจอร์วิส เบย์ ทางตอนใต้ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลีย, รอบชายฝั่งฮ่องกง และท้องทะเลที่ขึ้นชื่อว่าสวยที่สุดในโลกอย่างมัลดีฟส์
อ๊ะ ๆ แต่ขอตะโกนดัง ๆ ว่าวันนี้เราไม่ต้องเดินทางไปเที่ยวไกลถึงต่างประเทศแล้ว ทะเลไทยของเราก็มีปรากฏการณ์สวย ๆ แบบนี้เช่นกัน กับที่นี่เลย "บางแสน" จังหวัดชลบุรี ใกล้ ๆ แค่นี่เอง ซึ่ง คุณ TeeShutterB ได้เดินทางไปเก็บภาพสวยของแพลงก์ตอนเรืองแสง ณ ทะเลบางแสน พร้อมบอกเทคนิคดี ๆ เกี่ยวกับการถ่ายมาฝากกันด้วย ... ลองไปดูกันค่ะ
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (11 กรกฎาคม 2558) ผมได้ไปเก็บภาพที่ทะเลบางแสน (บริเวณสะพานปลา) เป็นครั้งแรกที่ได้ถ่ายแพลงตอนเรืองแสงหลังจากหามานาน
ปรากฏการณ์แพลงตอนเรืองแสงที่หาดบางแสน เป็นสถานการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ หรือจะเรียกได้ว่ายังไม่มีหลักฐานว่าเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้
สาเหตุเกิดจากสิ่งมีชีวิตที่มีแสงในตัว คล้ายหิ่งห้อยแต่ต่างสี (คาดว่าน่าจะสามารถเก็บแสงได้ในระยะเวลาจำกัด) จะเห็นแสงได้ก็เฉพาะตอนที่กระทบกันกับของแข็งหรือตอนน้ำกระแทกกันเป็นยอดคลื่นเท่านั้น โดยสถานที่นั่น ๆ ต้องมืดพอสมควร
ภาพจาก เฟซบุ๊ก TeeShutterB
ให้เลือกบริเวณที่น้ำทะเลกระทบกัน ในภาพผมเลือกสะพานปลา แพลงตอนเรืองแสงให้ใช้ Speed Shutter ช้า 4-8 วินาที F กว้าง iso ได้ประมาณ 1600 (แล้วแต่สภาพแสงและจำนวนแพลงตอน) ลองถ่ายดูแล้ว ค่อย ๆ ชดเชยแสง เอาให้องค์ประกอบภาพแสงพอดี เพราะแต่ละภาพแพลงตอนออกมาไม่เท่ากัน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก TeeShutterB
ภาพจาก เฟซบุ๊ก TeeShutterB
สำหรับเพื่อน ๆ ที่รักการเดินทางและชื่นชอบการถ่ายภาพสวย ๆ สามารถติดตามผลงานของ คุณ TeeShutterB พร้อมกด Like ได้ที่ เฟซบุ๊ก TeeShutterB นะคะ ^^
หมายเหตุ:ปรากฏการณ์แพลงตอนเรืองแสงที่หาดบางแสน เป็นสถานการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ หรือจะเรียกได้ว่ายังไม่มีหลักฐานว่าเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้"
มันไม่ใช่ปรากฎการณ์ที่เกิดได้บ่อย แต่ถ้ามีแพลงตอนบูมเมื่อไหร่ หลังจากนั้นไม่นานก็พอแพลงตอนตาย ก็จะปล่อยฟอสฟอรัสออกมา เกิดปรากฎการณ์นี้ได้ แค่ต้องไปให้ถูกวันเท่านั้นเอง เพราะมันจะมีแค่ 1-2 วันเองค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น